Bobblehead Bunny

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 12

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น.

          เนื้อหาที่เรียน
               กิจกรรมที่ 1
            นำเสนอบทความ วิจัย และตัวอย่างการสอน  
            คนแรก นางสาวสิริวดี  นุเรศรัมย์  นำเสนอบทความ เรื่อง สอนคณิตจากสิ่งรอบตัว


1.สอนเรื่องตัวเลข (เรื่องของจำนวน)
2.สอนเรื่องขนาด ปริมาณ น้ำหนัก หมวดหมู่
3.รูปทรงต่างๆ
4.ตำแหน่ง ซ้าย-ขวา
5.กลางวัน-กลางคืน
6.วัน/เดือน/ปี
7.การเพิ่ม-ลด
8.การใช้เงิน
            
            คนต่อมา นางสาวสุพรรณิการ์  สุขเจริญ  นำเสนอบทความ เรื่อง สอนลูกเรื่องจำนวน การนับ และตัวเลข


1.จัดบรรยากาศ ของบ้าน ตัวเลข นาฬิกา เลขที่บ้าน
2.เล่นนับอวัยวะในร่างกาย
3.การเล่านิทานที่มีตัวเลข

           คนสุดท้าย นางสาวสุภาภรณ์  วัดจัง  นำเสนอวิจัยเรื่อง วิธีการสอนแบบไฮสโคป
Plan  → Do → Review

            กิจกรรมที่ 2
               อาจารย์แจกแผงไข่มาคู่ละ 2 แผง และใหคิดว่าเราควรจะทำสื่อจากแผงไข่อย่างไรให้มีความสร้างสรรค์และเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์


         และสรุป คู่ของเราทำเรื่องภูเขาไฟระเบิด คือ จะมีแผ่นที่เป็นต้นแบบแล้วให้เด็กเอาถาดไข่สีๆ มาวางตรงที่กำหนดตามแผ่นต้นแบบ

         บรรยากาศในห้องเรียน
              การเรียนการสอนในวันนี้เป็นไปอย่างราบรื่น เพราะทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมมากเลยทำให้วันนี้ผ่านไปได้ด้วยดี

         ประเมินวิธีการสอน
              การทำงานร่วมกัน ต้องอาศัยการสื่อสารและการแชร์ความคิดให้อีกคนรับรู้ และตัดสินใจร่วมกัน  การรับฟังความคิดเห็นขแงเพื่อนเป็นสิ่งที่เราควรทำ เพราะบางครั้งความคิดของเราอาจจะไม่ได้ดีเท่าที่ควร 

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 11


วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2561

          เนื้อหาที่เรียน


                   นำเสนอบทความ วิจัย และตัวอย่างการสอนก่อนที่จะเข้าเนื้อหา




     คนแรกคือ นางสาวณัฐธิดา  ธรรมแท้ นำเสนอตัวอย่างการสอนเรื่องเรียนรู้จำนวนตัวเลข มากกว่าน้อยกว่า โดยเรียงไม้ไอศกรีมแล้ววางเลขจำนวน ถ้าฝั่งไหนมากกว่า ก็ให้นำปากจระเข้อ้าไปทางมากกว่า การที่เอาสิ่งของแทนตัวเลขเป็นการใช้สัญลักษณ์ 





     คนที่สอง นางสาวปวีณา  พันธ์กุล นำเสนอบทความ เรื่องฉลาดเรียน ฉลาดเล่น วิธีเรียนคณิตศาสตร์ในห้องกับคุณแม่ ในบทความจะพูดถึงเกี่ยวกับการทำอาหารกับแม่โดยมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การตวง ชั่ง วัด ส่วนผสมต่างๆ การที่มีรูปทรงมาเกี่ยวข้อง มีแม่พิมพ์รูปต่างๆ และนับเลขจากการใส่ส่วนผสม เช่น น้ำปลากี่ช้อน น้ำตาลกี่ช้อน เป็นต้น 
    เสริม วิธีในการกระตุ้นหรือส่งเสริม
-เด็กคิดเมนูเอง หาข้อตกลง จะนำไปสู่การกล้าที่จะแสดงความคิดสร้างสรรค์
-ไม่มีผิดไม่ม่ถูก 
-ชื่นชมผลงานของตัวเอง





     คนสุดท้ายคือ นางสาวณัฐชา  บุญทอง นำเสนอบทความเรื่องเลขคณิตคิดสนุก แนะพ่อแม่สอนลูกๆทำกิจกรรมในบ้าน 
กิจกรรมที่ 1 การทำเยลลี่โดยผู้ปกครองทำเยลลี่ร่วกับเด็ก เช่นใส่ส่วนผสมแค่ไหน
กิจกรรมที่ 2 ประดิษฐ์กล่องของขวัญ เช่นวัดสัดส่วน วัดมุม
      - การสอนแบบนี้สอดคล้องกับแนวคิดแบบไฮสโคป เน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก 





      เนื้อหาที่เรียนในวันนี้เป็นการทำกิจกรรมกันภายในห้องโดยมีลูกบอลเป็นอุปกรณ์อย่างแรกเลยคือให้คาดคะเนปริมาณของลูกบอลที่อยู่ในถุง และนำออกมานับโดยนำเลขมากำกับเป็นสัญลักษณ์จากนั้นก็ให้นำมาเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า โดยนับแบบ 1:1




   และอาจารย์ก็ให้แจกลูกบอลคนละ 1 ลูก ให้ทำเป็นอนุกรม โดยการสอนอนุกรมเด็กจะต้องมี
ตัวแบบให้เด็กดู
     ต่อมาเป็นกิจกรรมที่อาจารย์จะแจกกระดาษมาให้และพับเป็น 2 ท่อน วาดครึ่งนึ่งของรูปต่างๆ และตัด จากนั้นก็ให้เอาตัวที่ตัดไปให้อาจารย์เพื่อมาจับคู่ให้เข้ากับตัวเต็ม 
     กิจกรรมสุดท้าย อาจารย์แจกกระดาษเหมือนเดิม ให้เราตีเส้น 10 เส้น แนวตั้ง 10 แนวนอน 10 หลังจากนั้นก็ให้แรเงาเป็นรูปต่างๆห้ามซ้ำกัน



          บรรยากาศในห้องเรียน
                 สนุกสนาน เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังและตอบคำถามอาจารย์อย่างตั้งใจ ช่วงท้ายอาจารย์มีกิจกรรมให้ทำเพื่อนๆทุกคนก็ตั้งใจทำงาน และใช้ความคิดของตนเอง
          ประเมินวิธีการสอน
                   เน้นการเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้จริง


วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 10

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2561

เนื้อหาที่เรียน
 วันนี้เป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาเมื่อคาบที่ผ่านมา คือเรื่องมาตรฐานคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ อาจารย์ได้อธิบายทวนอีกครั้งเพื่อความเข้าใจและหลังจากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ วิจัย และตัวอย่างการสอน

นางสาวชาณิศา   หุ้ยทั่น  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่  ปริญญานิพนธ์ ของ กมลรัฒน์   กมลสุทธิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาการศึกษาปฐมวัย ปี 2555

ความมุ่งหมาย : เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลักการทดลองสูงกว่าการทดลอง

สรุปผลการวิจัย : ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิคศาสตร์ ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและรายด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การเรียงลำดับและการนับ
                                                          ♡♡♡♡♡♡♡

 นางสาวรัติยากร   ศาลาฤทธิ์  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ   โดย กาญจนา ทับผดุง และ สุภาวิณี  สัตยาภาณ์  
หน่วยแผนการสอนจะเป็นดังนี้ 
1. บ้านน่าอยู่ จำนวน 5 ชั่วโมง
2. สัตว์น่ารู้    จำนวน 5 ชั่วโมง
3. อาชีพที่ควรรู้จัก  จำนวน 5 ชั่วโมง
4. ฤดูกาล     จำนวน 5 ชั่วโมง
♡♡♡♡♡♡♡

นางสาวสุภาภรณ์   วัดจัง  นำเสนอวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคป  

♡♡♡♡♡♡♡

นางสาววิจิตรา   ปาคำ  นำเสนอตัวอย่างการสอนเรื่อง กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวเด็ก โดยครูอัมพรรณี สาลีวรรณ์  เป็นการสอนกิจกรรมหลักทั้ง 6 อย่าง เกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติรอบตัวเด็ก สอดคล้องกับคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับ การเปรียบเทียบ การจำแนก การเรียงลำดับ

                                                          ♡♡♡♡♡♡♡

นางสาวปรางทอง   สุริวงษ์  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร   โดย ศุภนันท์   พลายแดง  วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปี 2553
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ : เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 จำนวน 30 คน
สรุป : การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสามารถส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุก ๆ ด้านให้แก่เด็กปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับ 


การนำมาประยุกต์ใช้
               - เป็นแนวทางที่นำมาใช้ในการจัดประสบการณ์ที่มีความเหมาะให้กับเด็กต่อไปนอนาคต
               - ได้รู้จักการทำวิจัย ตัวอย่างการสอน และบทความที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการเรียนการสอน และการประกอบอาชีพครูปฐมวัยในอนาคต

 ประเมินวิธีการสอน
               - การตอบคำถาม
               - การถามตอบ/รายบุคคล
               - ผลงาน


➨เนื่องจากวันนี้ดิฉันมีธุระติดเข้าอบรม กยศ กับเพื่อนอีก 6 คน จึงไม่ได้เข้าเรียนในวันนี้ได้  ดิฉันจึงสรุป Blogger โดยดูแบบอย่างจากนางสาวปรางทอง  สุริวงษ์


วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 9

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2561 

           นื้อหาที่เรียน
สาระสำคัญและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
มาตรฐาน เกณฑ์ที่กำหนด เอาไว้ประเมิน เกณฑ์ขั้นต่ำ
มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก 

สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
-บอกปริมาณจำนวนสิ่งของ ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเช่น การนับจำนวนเด็กในห้อง ให้เด็กนับและยกมือขึ้นค้างไว้ เพื่อให้เด็กเห็นการเพิ่มขึ้นทีละ 1 ของจำนวนตามลำดับ  (ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ)
-การบอกจำนวนสิ่งต่างๆ ต้องกำหนดจุดเริ่มต้น แล้วจึงจัดลำดับ
-การรวมตัว การรวมเป็นการนับรวมของสองอย่างขึ้นไป
-การแยก นับแยกสิ่งต่างๆออกจากกลุ่ม

สาระที่2 การวัด
การวัดความยาวสิ่งต่างๆตามแนวนอน การวัดส่วนสูงเป็นการวัดแนวตั้ง 
-การวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
สาระที่3 เรขาคณิต
รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง 
-จำแนกรูปเรขาคณิต

สาระที่4 พีชคณิต
เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์

สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และการนำเสนอ

สาระที่6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มีทักษะกระบวนการคิดและทักษะในการแก้ไขปัญหา


หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้งานไว้ทำในห้อง คือหากิจกรรมที่สอดคล้องกับสาระ 6 สาระ


          บรรยากาศในห้องเรียน
                นั่งทำงานที่อาจารย์มอบหมายกันอย่างเต็มที่

          ประเมินวิธีการสอน
                อาจารย์ติดภารกิจแต่ก็คอยเดินมาดูไม่ละทิ้งนักศึกษา และอธิบายเพิ่มเติมหากไม่เข้าใจ